วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การอ่านค่าตัวต้านทาน

การอ่านค่าตัวต้านทาน
การอ่านค่าตัวต้านทานเราสามารถใช้ตารางนี้เพื่ออ่านค่าตัวต้านทานได้อย่างง่าย ๆ และรวดเร็วครับ

จุด xx.x
หลักที่ 1
อ่าน xxx
หลักที่ 2
เติมศูยน์ xx0
หลักที่ 3
หน่วย
ทอง
ดำ
น้ำตาล
โอมห์
แดง
ส้ม
เหลือง
กิโลโอมห์
เขียว
ฟ้า
-
เมกะโอมห์

 เรามาดูวิธีการอ่านนะครับ สมุติว่าเราจะอ่านค่าความต้านทานดังนี้
ตัวอย่างการอ่านค่าความต้านทาน
1. น้ำตาล ดำ น้ำตาล เราจะอ่านได้ดังนี้ครับ
น้ำตาล = 1 ดำ = 0  สองตัวนี้คือค่าหลักที่หนึ่งและหลักที่สองครับ ให้เราใส่ดังนี้นะครับ 10
และหลักที่ 3 คือน้ำตาลให้เราไปดูที่ช่องของหลักที่ 3 ที่มีน้ำตาล แล้วเราก็เติมศูนย์ (0) ต่อท้าย 10 นะครับ
ค่าที่ได้ออกมาก็จะได้เท่ากับ 100 โอมห์ คือคำตอบที่เราต้องการนะครับ
2. น้ำตาล ดำ ส้ม เราจะอ่านได้ดังนี้นะครับ
น้ำตาล = 1 ดำ = 0  สองตัวนี้คือค่าหลักที่หนึ่งและหลักที่สองครับ ให้เราใส่ดังนี้นะครับ 10
และหลักที่ 3 คือส้ม ให้เราไปดูที่ช่องของหลักที่ 2 ที่มีส้ม แล้วเราก็จะสามารถอ่านได้ดังนี้ครับ 10 กิโลโอมห์หรือ 10 k

ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้

ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้
ตัวต้านทานปรับค่าได้ เป็นตัวต้านทาน ที่ค่าความต้านทานสามารถปรับเปลี่ยนได้ โดยอาจมีปุ่มสำหรับ หมุน หรือ เลื่อน เพื่อปรับค่าความต้านทาน และบางครั้งก็เรียก โพเทนติโอมิเตอร์ (potentiometers) หรือ รีโอสแตต (rheostats)
ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ มีทั้งแบบที่หมุนได้เพียงรอบเดียว จนถึง แบบที่หมุนแบบเป็นเกลียวได้หลายรอบ บางชนิดมีอุปกรณ์แสดงนับรอบที่หมุน เนื่องจากตัวต้านทานปรับค่าได้นี้ มีส่วนของโลหะที่ขัดสีสึกกร่อน บางครั้งจึงอาจขาดความน่าเชื่อถือ ในตัวต้านทานปรับค่าได้รุ่นใหม่ จะใช้วัสดุซึ่งทำจากพลาสติกที่ทนทานต่อการสึกกร่อนจากการขัดสี และ กัดกร่อน
  • รีโอสแตต (rheostat) : เป็นตัวต้านทานปรับค่าได้มี 2 ขา โดยที่ขาหนึ่งถูกยึดตายตัว ส่วนขาที่เหลือเลื่อนไปมาได้ ปกติใช้สำหรับส่วนที่มีปริมาณกระแสผ่านสูง
  • โพเทนติโอมิเตอร์ (potentiometer) : เป็นตัวต้านทานปรับค่าได้ ที่พบเห็นได้ทั่วไป โดยเป็นปุ่มปรับความดัง สำหรับเครื่องขยายเสียง

ตัวต้านทานแบบค่าคงที่

ตัวต้านทานแบบค่าคงที่
ตัวต้านทานทั่วไปอาจมีรูปร่างเป็นทรงกระบอก โดยที่มีสารตัวต้านทานอยู่ที่แกนกลาง หรือ เป็นฟิลม์อยู่ที่ผิว และมีแกนโลหะตัวนำออกมาจากปลายทั้งสองข้าง ตัวต้านทานที่มีรูปร่างนี้เรียกว่า ตัวต้านทานรูปร่างแบบ แอกเซียล ดังในรูปด้านขวามือ ตัวต้านทานใช้สำหรับกำลังสูงจะถูกออกแบบให้มีรูปร่างที่สามารถถ่ายเทความร้อนได้ดี โดยมักจะเป็น ตัวต้านทานแบบขดลวด ตัวต้านทานที่มักจะพบเห็นบนแผงวงจร เช่นคอมพิวเตอร์นั้น โดยปกติจะมีลักษณะเป็น ตัวต้านทานแบบประกบผิวหน้า (surface-mount|) ขนาดเล็ก และไม่มีขาโลหะตัวนำยื่นออกมา นอกจากนั้นตัวต้านทานอาจจะถูกรวมอยู่ภายใน อุปกรณ์วงจรรวม (IC - integrated circuit) โดยตัวต้านทานจะถูกสร้างขึ้นในระหว่างกระบวนการผลิต และแต่ละ IC อาจมีตัวต้านทานถึงหลายล้านตัวอยู่ภายใน

ตัวต้านทาน

ตัวต้านทาน
ตัวต้านทาน หรือ รีซิสเตอร์ (อังกฤษ: resistor) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดสองขั้ว ที่สร้างความต่างศักย์ทางไฟฟ้าขึ้นคร่อมขั้วทั้งสอง โดยมีสัดส่วนมากน้อยตามกระแสที่ไหลผ่าน อัตราส่วนระหว่างความต่างศักย์ และปริมาณกระแสไฟฟ้า ก็คือ ค่าความต้านทานทางไฟฟ้า หรือค่าความต้านทาน
หน่วยค่าความต้านทานไฟฟ้าตามระบบเอสไอ คือ โอห์ม อุปกรณ์ที่มีความต้านทาน ค่า 1 โอห์ม หากมีความต่างศักย์ 1 โวลต์ไหลผ่าน จะให้กระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ ซึ่งเท่ากับการไหลของประจุไฟฟ้า 1 คูลอมบ์ (ประมาณ 6.241506 × 1018 elementary charge) ต่อวินาที